วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อินเทอร์เน็ต(Internet)
  ประวัติ ความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ต

                                    

                    ในปี พ.ศ. 2510 เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่า ?อาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงคราม นิวเคลียร์
                    ในปี พ.ศ. 2512โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า ?แพ็กเก็ตสวิตชิง? (packet Switching)
                    ในปี พ.ศ. 2515  เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่ เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้
                    ในปี พ.ศ. 2525  ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

                     ในปี พ.ศ. 2527   มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย
                     ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ ?เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์? หรือ CSnet
                  ในปี พ.ศ. 2532  มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่า ?อินเตอร์เน็ต (Internet)?
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

ความหมายของระบบอินเทอร์เน็ต
                    
อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมลเว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้   
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย
ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
                  
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก  ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด   สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา   อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
                     
   อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น (ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน (ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน (ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด (ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008) ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
ที่มา
http://www.thaifwd.com/thread-729-1-1.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page3.html
http://www.google.co.th/#hl=th&q=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95&revid=1&sa=X&ei=2X3UTpHtHpCrrAfj_qGmDg&sqi=2&ved=0CCsQ1QIoBA&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.,cf.osb&fp=abf4fb3ffcdf02c0&biw=1440&bih=713





Internet
                        อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง  "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก  โดยใช้โปรโตคอล (Protocol )  เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร

ประวัติอินเตอร์เน็ต
                              อินเตอร์เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียตที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศ อเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหาร ชื่อ ARPANET ขึ้น
 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
                              ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียร่วมกับ
อาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
   - โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Ban
  - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
 - สายโทรศัพท์ทองแดง 
                            นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
 หลังจากนั้นรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP)
ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมาในปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่าย ไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น  ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet (Thai Computer Science Network) มีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX  ที่แพร่หลายในออสเตรเลีย  (Australian Computer Science Network - ACSNet)
การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
                     ได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง เป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย  องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย
(Internet Thailand)  การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์
                          เป็นวิธีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้สายโทรศัพท์ และติดต่อผ่านโมเด็ม(Modem)  เพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ ISP (Internet Service Provider)

ส่วนประกอบของการเชื่อมต่อ     
       1.เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น  e-mail  chat และ  webboard
       2.  หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน
    
  3.  โมเด็ม ( Modem )
      
4.  ชั่วโมงอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (ISP)
บริการบนอินเตอร์เน็ต
WWW (World Wide Web) บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Web Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)   บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น
Software Updating   มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทำงานเองจนการ update สมบูรณ์ อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail) อีเมล คือ บริการกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับ และส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร ปัจจุบันบริการอีเมลผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล เช่น hotmail.com, yahoo.com, thaimail.com, chaiyo.com, lampang.net, thaiall.com   บริการอีเมลที่ได้รับความนิยมมี 2 ประเภทคือ Web-Based Mail และ POP3 บริการแบบ POP3 นั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องบริการเมลไปเก็บไว้ในเครื่องของตน จึงเปิดอ่านอีเมลเก่าได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหมาะกับผู้ใช้ในสำนักงานที่มีเครื่องเป็นของตนเอง โปรแกรมที่ใช้เปิดอีเมลแบบ POP3 เช่น Outlook Express, Eudora หรือ Netscape Mail เป็นต้น


FTP   (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล)
บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว Game Online เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจำลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง เพราะไม่เหมือนการสู้กับคนที่คิดเป็น และพูดคุยโต้ตอบได้ จึงมีการสร้างเกมส์ และบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้ต่อสู้กัน หรือร่วมกันสู้ โดยจ่ายค่าลงทะเบียน เพื่อขอรหัสผู้ใช้เข้าเครื่องบริการ เพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือทำภารกิจกับเพื่อนร่วมรบ ที่มีจุดมุ่งหมาย หรือชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วในโลกอินเทอร์เน็ต
วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น  e-mail  chat และ  webboard
2.เพื่อข้อมูลข่าวสาร (information)  เป็นลักษณะของการใช้งานสารสนเทศผ่าน เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ
3.เพื่อความบันเทิง (entertainment) เช่น เว็บไซต์บันเทิง  เกมส์คอมพิวเตอร์ การดูหนังฟังเพลง
4.เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ (business)  เช่น เป็นช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์  แสดงสินค้า และให้บริการลูกค้า  เป็นต้น
โปรแกรมค้นหา (Search Engine)
              เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ  จากนั้นจึงนำเว็บเพจที่อ่านได้มาทำดัชนีเก็บไว้ ในฐานข้อมูล  เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลหรือเว็บเพจ,เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจ ในรูปแบบเท็กซ์ หรืออื่นๆ
อินทราเน็ต (INTRANET)
                     อินทราเน็ต เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็น เครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท  ผู้คนในบริษัทจะทำการ แลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่น  ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขา หรือ จะอยู่คนละภูมิภาคก็สามารถสื่อสารกัน  (Interfacing)   ได้ เหมือนอินเทอร์เน็ตทั่วไป  ด้วย Function การ Log-in มีระบบจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์    มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว  มีระบบโต้ตอบ และสนทนาได้อัตโนมัติ
เอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)
                       เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ  ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า   บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกัน 
ที่มา

ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                            ในโลกปัจจุบันพัฒนาการ สุดยอดแห่งยุค สารสนเทศ แทบไม่มีใครไม่รู้จัก สิ่งที่ทำให้โลก ไร้พรมแดน เส้นแบ่งเขตประเทศ หรือโซนเวลา คอมพิวเตอร์ ทุกคน ทุกบ้านเรือน เป็นส่วนหนึ่งของอภิมหาเน็ทเวิร์ค ยามเมื่อต่อเข้าบริการอินเทอร์เน็ตแล้ว ก็เปรียบเสมือน เพื่อนข้างโต๊ะทำงาน ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วทันใจ  ชั่วพริบตา  ทั้งส่งจดหมาย พูดคุย  ฟังเสียง  ดูภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น เรื่องราวที่เกี่ยวพัน กับอภิมหาเน็ทเวิร์คระดับโลก หรืออินเทอร์เน็ต มีแง่มุมที่น่าสนใจ มากมายหลายด้าน และพัฒนาสิ่งใหม่เป็นรายวัน เพื่อให้เครือข่ายยักษ์นี้ ยืนอายุยาวนานตลอดกาล ความเร็วที่เพิ่มมากขึ้น แทบไร้การรอคอย ข้อมูลส่งได้มหาศาลขึ้น และจะเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของ ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน คล้ายกับ ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ เราจะทยอย คัดมานำเสนอเพิ่มขึ้น ทุกๆ เดือน เชิญติดตามอ่านได้เป็นประจำ ที่นี่อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งก็คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งโลก มีคอมพิวเตอร์นับสิบล้านเครื่อง ต่อโยงถึงกัน เสมือนใยแมงมุม โดยใช้ โปรโตคอล (Protocol) หรือ มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล ภาพ เสียง ที่มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ซึ่งสามารถเลือก เส้นทางในการติดต่อ ได้หลายๆ เส้นทาง หรือจะเรียกได้ว่า เป็นการสื่อสารแบบไร้มิติ ไซเบอร์เสปซ (CyberSpace)
 แนะนำ Internet
อินเตอร์เน็ตคืออะไร เราอาจมองอินเตอร์เน็ตได้สองมุมดังนี้คือ- เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เน็ตเวิร์กหนึ่ง - แหล่งข้อมูลขนาดใหญ
                                อินเตอร์เน็ตเป็นเน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เน็ตเวิร์กหนึ่ง โดยที่อินเตอร์เน็ตเป็นชื่อของเน็ตเวิร์กนี้ ที่บอกว่าใหญ่นั้นหมายถึงใหญ่ทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงปริมาณ ในเชิงพื้นที่นั้นอินเตอร์เน็ตเป็นเน็ตเวิร์กที่มีขนาดครอบคลุมไปทั่วโลกและทุกทวีป เกือบทุกประเทศที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่อินเตอร์เน็ตครอบคลุม ส่วนในเชิงปริมาณนั้นหมายถึงจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่หรือเชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากมาย ประมาณกันว่าเกินหลักล้าน   ตามจริงแล้วอินเตอร์เน็ตไม่ใช่เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์กเดียว แต่อินเตอร์เน็ตประกอบขึ้นด้วยเน็ตเวิร์กหลาย ๆเน็ตเวิร์กด้วยกัน บางคนจึงเรียกอินเตอร์เน็ตว่า เน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์ก (Network of Networks)
                           เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์คงไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าไม่มีข้อมูลที่ผู้คนต้องการทราบ อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ คือ มีข้อมูลจำนวนมหาศาลและทุกประเภทเก็บอยู่ และยังมีเครื่องมืออำนวยความสดวกในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการด้วย ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                             อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC (Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535  อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้ แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของARPANET ที่เป็นระบบเปิด ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่งทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด
                   ข้อดี ของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าใรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งานได้ทำให้อินเตอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกาจนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
                 การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบันจุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน     ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิด ได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทางกราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการของ WEB     ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมทสินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิงพาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่าน เพื่อพัฒนาตลาด ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโตในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE ได้ทำการแจก Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้จากการบริการใหม่อื่นๆ
                       ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่พอ หรือมี
economies of scale สำหรับการดำเนินกิจกรรมพาณิชย์เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณาเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังมีความตื่นตัวในการใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic or Digital Money) ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนธนบัตรกระดาษ สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ตได้ทันที มีการคาดการณ์กันว่าเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก และจะก่อให้เกิดการปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของธุรกิจทั่วโลกหลังปี ค.ศ. 2000
นี้
                  ในด้านการศึกษา อินเตอร์เน็ตรองรับการใช้งานในด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย มาตั้งแต่ต้นแล้ว เพียงแต่ขอบเขต ของการให้บริการตลอดจน จำนวนและรูปแบบของบริการเพิ่งจะมีอัตราเติบโตที่สูงมากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์อาศัยเพียง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อมูลงานวิจัย ไปยังกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ต่อมามีการใช้งานกลุ่มสนทนา (
Discussion Forum) ที่เรียกว่า USENET Newsgroups ซึ่งทำให้สามารถรวมผู้คน เข้ามาปรึกษาหารือได้คราวละมาก ๆ โดยในแต่ละ FORUM จะมีเรื่องที่กำหนดหัวข้อไว้เช่น soc.culture.thai เป็นกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับเมืองไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง และเรื่องทั่วไป comp.security เป็นกลุ่มสนทนาที่จะคุยกัน เฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีกลุ่มสนทนาอยู่กว่า 8000 กลุ่มบนอินเตอร์เน็ต จากนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารก็ไม่จำกัดอยู่ใน วงการอาจารย์มหาวิทยาลัยเท่านั้น บุคคลทั่วไปที่สนใจก็สามารถเข้าไปสนทนาในเรื่องวิชาการใดใดก็ได้ ทำให้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการศึกษานอกโรงเรียน (Informal Education) เป็นอย่างมาก ยิ่งภายหลังจากที่เทคโนโลยี WEB ได้ก้าวเข้ามาสู่วงการอินเตอร์เน็ต ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก รูปแบบการใช้งาน (Applications) นั้นมีเหลือคณานับ เช่น การใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแบบทางไกล (Distant Education and Wide Area Learning) สามารถส่งข้อมูลทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง อนิเมชัน ไปยังนักเรียนได้ทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้ได้มีมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต เรียกว่ามหาวิทยาลัยจำแลง (Virtual University) ซึ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตัวมหาวิทยาลัยเป็นเพียง ที่ทำการเล็ก ๆ เท่านั้นแต่นักศึกษาจะมีความรู้สึกว่าใหญ่ เมื่อเข้าไปเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยจำแลง ที่อาศัยบริการอินเตอร์เน็ตในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักศึกษาที่ห่างไกล มหาวิทยาลัยจริงหลาย ๆ แห่งก็ได้ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดฝึกอบรมและสัมนาทางไกล มีงานประชุมทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายแห่งที่เปลี่ยนจากการประชุมจริง มาเป็นการจัดบนอินเตอร์เน็ต โดยยังอิงรูปแบบของงานประชุมจริง ๆ ไว้

                     การถ่ายทอดความรู้ และ การถ่ายเทความมั่งคั่งทางปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งรวดเร็วขึ้นอย่างมาก เราเคยใช้หนังสือเป็นตัวถ่ายทอดวิทยาการความรู้ เราเคยใช้การไปมาหาสู่ในการช่วยถ่ายเทภูมิปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ขณะนี้เราก็ยังคงใช้มันอยู่ หากแต่นับวันมันจะมีสัดส่วนที่น้อยลง ทุกวันนี้เราถ่ายเทข่าวสารความรู้ผ่านทางสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) เราสามารถอ่านวารสารไบต์ และ ไทมส์ บนอินเตอร์เน็ต เราสามารถติดต่อพูดคุยผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสนทนา โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต (Internet Phone) จนถึงการประชุมแบบเห็นภาพ (Video Conference) ทุกวันนี้เมื่อมีความรู้เกิดขึ้น ณ ที่ใด มันสามารถที่จะถ่ายเทไปยังที่อื่น ๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้คนได้มีโอกาสเสวยสุขกับทรัพยากรทางปัญญาได้รวดเร็ว และ ทั่วถึงกว่าเดิม กล่าวคือ มันได้เพิ่มอำนาจแก่มวลชน เพราะเมื่อมวลชนมีการศึกษาที่ดีขึ้น คุณภาพทางปัญญาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกันทั่วถึงขึ้น ย่อมกระจายอำนาจการตัดสินใจไปสู่กลุ่มคนกลุ่มใหญ่มากขึ้น การตัดสินใจใดใดของรัฐบาลจะถูกควบคุมโดยพลังสารสนเทศของมวลชน การทำธุรกิจจะเป็นไปในแนวทาง ที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนทั้งนี้ภาคธุรกิจจะสามารถทราบความต้องการของมวลชนได้อย่างรวดเร็ว
                      ในด้านมืด อินเตอร์เน็ตก็ได้สร้างผลกระทบต่อมวลชนเช่นกัน ความสามารถในการเป็นสื่อในการถ่ายเททรัพยากรทางปัญญา จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งทำให้มันถูกใช้ในการก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายได้ง่ายขึ้น อาชญากรสามารถที่จะเจาะเข้าไป หาข้อมูลเพื่อแสวงหาประโยชน์จากความลับในทางการค้า หรือเข้าไปขโมยเงินซึ่งอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย อาชญากรจะมีความรู้มากขึ้น เพราะสามารถหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการทำระเบิดซึ่งเขียนวิธีทำไว้อย่างละเอียดบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับ WEB นักก่อการร้ายในปัจจุบันใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในการประสานงานการวางระเบิดทั่วโลก ข้อมูลต่าง ๆ สามารถถูกส่งไปยังหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ของผู้ก่อการร้าย อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเดินทางของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ยังได้คุกคามต่อวัฒนธรรมของชนในหลายพื้นที่ที่ข้อมูลภายนอกอาจเป็นสิ่งต้องห้าม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาพโป๊และเปลือยซึ่งถือเป็นเรื่องแสนจะธรรมดาสำหรับประเทศในเขตยุโรปเหนือแต่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศอาหรับ หรือแม้แต่ประเทศเราเอง   การเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต ทำให้สังคมโลกเริ่มปรับตัวและจัดระเบียบใหม่ การดำเนินชีวิตของพลเมืองโลก เริ่มมีการปรับเปลี่ยน มีรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายมีการปฏิรูปทางการศึกษา พฤติกรรมในการบริโภคก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไป อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต ได้แผ่ขยายไปมากเกินกว่าอำนาจใดจะหยุดยั้งไว้ได้ นั่นไม่ใช่เพราะพลังของเทคโนโลยีแต่เป็นพลังของมวลชนต่างหาก
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
                         เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทค   เครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมาย เครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยม     การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น         เนื่องจากในปัจจุบันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 เป็นต้นไป การใช้งานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระดับมหาวิทยาลัยของรัฐเริ่มจะอยู่ตัว และมีการใช้งานกว้างขวางมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายเส้นทางการสื่อสารให้กว้างขึ้นเป็น 64 Kbps เป็นอย่างน้อย ประกอบกับทางเนคเทค ได้รับเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินลดลง จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ใช้ในเครือข่ายไทยสาร เพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันออกค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการเชื่อต่อสมทบให้เนคเทคปีละ 240,000 บาท สำหรับการเชื่อมต่อที่ความเร็ว 64 Kbps
 ที่มา   http://boonglovely.212cafe.com/archive/2008-12-06/internet-tcpip-email-information-hardware-software-peopleware-isocinternet-society-2535-60-20-arpane/


อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด



อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ



ความหมายของอินเตอร์เน็ต



อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้

การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก



ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้ เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย

ในปี ค.ศ. 1983 ได้มีการนำ TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1986 มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain name System) เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่าย และใช้ ISP (Internet Service Provider) ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม



อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) ในปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย

ในปี พ.ศ. 2531 ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับที่อยู่ Sritrang.psu.th ซึ่งเป็นที่อยู่อินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย

หลังจากนั้นก็ได้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย


อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
- หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
- การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
- ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น
จากตัวอย่างแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะเห็นได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจต่าง ๆ จะมีการนำอินเทอร์เน็ตเช้ามาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการทำธุรกิจและบริการ
ความหมายของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer networks) ซึ่งหมายถึงกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า internetwork หรือ internet (สังเกตว่าจะใช้ i ตัวเล็ก) แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า the Internet (ตัว I ใหญ่) จะหมายถึงกลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ (public access)




อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
- หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
- การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
- ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น
จากตัวอย่างแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะเห็นได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจต่าง ๆ จะมีการนำอินเทอร์เน็ตเช้ามาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการทำธุรกิจและบริการ
ความหมายของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer networks) ซึ่งหมายถึงกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า internetwork หรือ internet (สังเกตว่าจะใช้ i ตัวเล็ก) แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า the Internet (ตัว I ใหญ่) จะหมายถึงกลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ (public access)
ที่มา :  http://pirun.ku.ac.th/~b5011172/Page_2.html
อินเตอร์เน็ต




อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน


การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
สนทนา (Chat)
อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
การติดตามข่าวสาร
การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล
การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ
การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)
การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
การอับโหลดข้อมูล
อื่นๆ


จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.463 พันล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2551) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ทวีปเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาได้แก่ ทวีปยุโรป ร้อยละ 26.3 และอเมริกาเหนือ ร้อยละ 17.0 แต่หากจัดลำดับจำนวนผู้ใช้ตามประเทศ ประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 253 ล้านคน

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7



ข้อมูลจาก
- http://th.wikipedia.org/
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
internet.gif (29972 bytes)



อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network

อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

internet01.gif (14569 bytes)


ความหมายของอินเตอร์เน็ต



• ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน
เครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์
นสำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกัน
กับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการ
คุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ
อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุม
แต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ

• ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูล
มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้




• อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

ที่มา  :  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chanthira&month=01-2008&date=17&group=1&gblog=32


ความหมายของอินเตอร์เน็ต

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูล
มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่ง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้น
เพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้าง
มาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มี
คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน
เครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์
นสำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกัน
กับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการ
คุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ
อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุม
แต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace




ที่มา :


ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน

ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูล

มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ หรือหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์นสำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้นนำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ



ที่มาของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่ง

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency

เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้น

เพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร

กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP

(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต


เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace



ความหมายและความสำคัญของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ ISP (Internet Service Providers) ถือเป็นกระดูกสันหลังของอินเทอร์เน็ต ISP เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ (Servers) เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ บริการทั้งหลายISP ให้บริการต่อสาย (dial-up access) เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (newsgroups) อีเมล์หรือ ห้องสนทนา (chat) ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ ISPเป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง ISP จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดูISP จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (IP - Internet Protocol) ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (IP Address) นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน ISP มีระบบเก็บบันทึก IP Address และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่ IP Address และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม ในกรณีที่มีการประกอบอาชญากรรมขึ้น ผู้รักษากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก ISP เพื่อจับผู้ละเมิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ISP อาจกลัวว่า หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะเป็นการละเมิดต่อพันธกรรมที่มีต่อลูกค้า และอาจขัดกับหลักกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย หรือหมายถึงหน่วยงานที่บริการ ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป หลักการพิจารณา ISP นั้น ผู้เลือกใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาว่า ISP นั้นมีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูง มากเพียงใด มีสมาชิก ใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลต่อความเร็ว ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย

โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ เลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ

• ซื้อชุดอินเทอร์เน็ต สำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้

• สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISPโดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียด ในการให้บริการของแต่ละที่นั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด



ในปัจจุบันผู้ให้บริการ Internet (ISP) ได้มีการพัฒนา การให้บริการ Internet จากเดิม 56 K เป็นระบบ ADSL ที่มีความเร็วสูงขึ้น เช่น 128 K, 256 K, 512 K , 1M หรือมากกว่า เช่น ISP Maxnet


ที่มา :  http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2007-1/Assignment-02/BPA_30_32/Internet%20Services%20Provider/01.htm

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้มข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ
 อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Networkอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
               อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ
เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ      อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
fig3
ภาพแสดงความเป็นระบบเปิดของ TCP/IP ทำให้เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์
IP Address
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก เช่นเครื่อง server ซึ่งเป็น Internet Server ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครลำปาง มี IP Address เป็น 203.152.29.50 ตัวเลขที่เป็น IP Address เป็นตัวเลขขนาด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ชุดๆ ละ 8 บิต ดังนั้นตัวเลข 1 ชุดที่เราเห็นคั่นด้วยจุดนั้น จึงแทนได้ด้วยตัวเลขจาก 0 ถึง 255  ตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ network number และ ส่วนของ host number โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเน็ตเวอร์ค class ใด ซึ่ง class ของเน็คเวอร์คแบ่งออกเป็น 4 classes
Domain Name System (DNS)
เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต เราก็จะใช้ชื่อ DNS เช่น www.bcnlp.ac.th แต่ในการใช้งานจริงนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ เมื่อรับคำสั่งจากเราแล้ว เค้าจะขอ (request) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการบอกเลขหมาย IP Address (ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ Yellow Pages) ซึ่งเรียกกันว่าเป็น DNS Server หรือ Name Server ตัว Name Server เมื่อได้รับ request ก็จะตอบเลขหมาย IP Address กลับมาให้เช่น สำหรับ www.bcnlp.ac.th นั้นจะตอบกลับมาเป็น 203.152.29.50 จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจึงจะเริ่มทำการติดต่อ กับคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งมันก็จะผ่านกระบวนการแบบที่กล่าวไปข้างต้น คือแบ่งข้อมูลออกเป็น packet จ่าหัวด้วย IP จากนั้นส่ง packet ไปซึ่งก็จะวิ่งผ่าน gateway ต่างๆ มากมายไปยังเป้าหมาย ระบบการตั้งชื่อ DNS นั้นคล้ายกับระบบไปรษณีย์ โดยมีประเทศอยู่หลังสุด เช่น .th คือ ประเทศไทย เป็นต้น แต่สำหรับสหรัฐอเมริกานั้นยกเว้น จากนั้นจะแบ่งเครือข่ายออกเป็น
.edu หรือ .ac เครือข่ายมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษา
.com หรือ .co เครือข่ายบริษัท ห้างร้าน
.mil เครือข่ายทางการทหาร
.org หรือ .or เครือข่ายองค์การที่ไม่หวังผลกำไร (พรรคการเมืองไทยก็ใช้ระบบนี้)
.gov หรือ .go เครือข่ายหน่วยงานของรัฐบาล
.net หรือ .net เครือข่ายของผู้ดูแลเน็ตเวอร์ค หรือ เจ้าของเน็ตเวอร์ค
อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต (Internet, Intranet and Extranet)
นักศึกษาดูรูปข้างล่างต่อไปนี้แล้วจะเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของ อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต

fig8

อินเตอร์เน็ต
fig9
อินทราเน็ต

fig10
เอ็กซ์ทราเน็ต


ในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากขึ้น และที่จะกล่าวถึงนี้คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในยุคแรกของคอมพิวเตอร์นั้นจุดประสงค์ก็คือเพื่อ ใช้ในการทำงานด้านการคำนวณตัวเลข ซึ่งมีข้อดีกว่ามนุษย์เราคือ สามารถคำนวณได้เร็วกว่าโดยที่จะเกิดข้อผิดพลาดนั้นมีน้อยกว่ามนุษย์ ซึ่งในยุคของไอทีนี้คอมพิวเตอร์นั้นได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และคอมพิวเตอร์นั้นมีด้วยกัน 4 ประเภทคือ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ การทำงานซึ่งประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในกลุ่มนั้นเราเรียกว่า เครือข่าย (Network)
             ปัจจุบันนี้ระบบเน็ตเวิร์กหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์และองค์กรและสถาบันการศึกษาไปแล้ว การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ การส่ง E-mailภายในองค์กรหรือ ระบบอินทราเน็ต การเชื่อมต่อระยะไกลด้วยระบบ Remote Access การประชุมผ่านวีดีโอ (VideoConference)สิ่งเหล่านี่ต้องใช้ระบบเน็ทเวิร์กเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเน็ตเวิร์กจะหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเราสามารถให้ความหมายของระบบเครือข่ายหรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องปริ้น ซีดีรอม สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมาก เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมล FTP เป็นต้น
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/networkfreeview.gif

 ระบบเครือข่ายมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network) LAN (Local Area Network) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบ ๆ ทุกเครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่าย ๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ อีกมาก แต่ลักษณะสำคัญของ LAN คือ เครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่จำกัด โดยรูปที่แสดงไว้นั้นจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สี่เครื่อง และมีเครื่องพิมพ์ที่แชร์กันได้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่าย ซึ่งเครือข่ายจะรวมกันอยู่ในห้องปฏิบัติการ
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/lan.gif

2. เครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (Metropolitan Area Network)MAN (Metropolitan Area Network)ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบ WAN ที่มีระยะห่างไม่มากนัก เช่น เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงภายในเขตเมือง หรือย่านใจกลางธุรกิจ (Centralised Business District – CBD) เป็นต้น การเชื่อมโยงแบบ MAN ปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างตึกต่างๆ ด้วยการเชื่อมโยงความเร็วสูงผ่านสายใยแก้วนำแสง และเป็นระบบเครือข่ายสาธารณะที่สามารถทำการเช่าใช้งานจากผู้ให้บริการได้ทันที
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/man.gif

3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network)
WAN (Wide Area Network) ตรงข้ามกับ LAN เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN (อ่านว่า แวน) เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกันเช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน เป็นต้น ดังรูปที่แสดงลักษณะของเครือข่ายแบบ WAN
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/wan.gif
นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งประเภทของระบบ LAN ได้อีก 2 แบบด้วยกันคือ
1. Peer to Peer ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB ข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer ท ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ ท สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้ ท ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ดี
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/peer.gif

2. Client / Server
ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆ ซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่ายคือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น ข้อดีของการต่อแบบ Client / Server ท สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้ ท มีระบบ Security ที่ดีมาก ท รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี ท สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/client.gif



ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
     1. สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ ข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละเครื่องภายในระบบ หากมีผู้อื่นต้องการใช้ คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลาย ๆ ฝ่ายนำไปใช้งานได้ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูล ในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว (ตัวอย่าง)
      2. สามารถแชร์อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ซิปไดร์ฟ เป็นต้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติกตั้งกับทุก ๆ เครื่อง เช่น ในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันก็ได้ (ตัวอย่าง)
      3. สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลาย ๆ เครื่องได้ เช่น ในห้อง LAB คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน 30 เครื่อง คุณก็สามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมได้ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
     4. การสื่อสาร ในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบได้ เช่น อาจจะส่งข้อความจากเครื่ององคุณไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E-mail ส่งข้อความ ข่าวสารต่าง ๆ ภายในสำนักงานได้อีก เช่น แจ้งกำหนดการต่าง ๆ แจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้ทุก ๆ คนทราบ โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
     5. การแชร์อินเตอร์เน็ต ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องซื้อ Internet Account สำหรับทุก ๆ เครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่าย
      6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดสอบใช้งานระบบเครือขายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคย กับระบบเครือจ่ายมากขึ้น ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย

ประเภทของคอมพิวเตอร์
Main Frame
ถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นเซฟเวอร์ที่ต้องมีการประมวลผลกิจกรรมอะไรที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำให้มากที่สุด มีราคาสูงมาก มักใช้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น การดูแลจำเป็นจะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ
Mini Computer or LAN คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก การลงทุนไม่สูงมากนัก ถือได้ว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในธุรกิจ SME
Personnel Computerคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเครื่องไคลเอ็นต์ เพื่อดึงข้อมูลจากเครื่องเซฟเวอร์ หรืออาจจะใช้ในลักษณะของการทำงานแชร์ทรัพยากรกันภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งสามกลุ่มนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่าย ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของข้อมูลและจุดสิ้นสุดของกานเดินทางของข้อมูลด้วยเล่นกัน นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ซึงจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
การวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     การที่เราจะสามารถวางระบบหรือติดตั้งระบบเน็ตเวิร์คให้ได้มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบเครือข่ายใหม่ทั้งหมด หรือติดตั้งเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบเดิม ผู้ที่จะทำการติดตั้ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านองค์ประกอบต่างๆของระบบเครือข่ายพอสมควรเพราะการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งในเรื่องของอุปกรณ์เชื่อมต่อ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในระบบนั้นๆ อีกทั้งยังจำเป็นที่จะต้องเลือกให้เกิดความเหมาะสมต่อองค์กรและผู้ใช้ด้วย
องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     จากความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากความหมายข้างต้นนี้เราสามารถแบ่งองค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
2. สื่อกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
3. วิธีการหรือมาตรฐานในการสื่อข้อมูลหรือทรัพยากร
1. คอมพิวเตอร์       คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ในเรื่องของการให้บริการและการใช้บริการข้อมูลในระบบเครือข่าย ซึ่งเครื่องที่จะทำหน้าที่ในการใช้บริการข้อมูลเราจะเรียกว่าเครื่องไคลเอ็นต์ ส่วนเครื่องที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ จะเรียกว่า เซฟเวอร์ โดยในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเซฟเวอร์จะเป็นเครื่องที่มีความสำคัญและมีศักยภาพในการทำงานสูง โดยเครื่องเซฟเวอร์จะถูกเรียกตามบริการที่เปิดให้ไคลเอ็นต์เข้ามาใช้บริการข้อมูล อย่างเช่น File Server คือเครื่องที่ให้บริการในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล การให้ดาร์วโหลดข้อมูล Print Server คือเครื่องที่ให้บริการด้านการปริ๊นงานหรือเอกสารต่างๆ Web Server เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านเว็บเพ็จหรือโฮมเพ็จขององค์การหรือบุคคลากร เป็นต้น
2. สื่อกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อ     แบ่งออกเป็นสองแบบคือ สื่อแบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น อย่างที่สองคือสื่อแบบไร้สาย ซึ่งจะเป็นสัญญานความถี่แบบคลื่นวิทยุ ตัวอย่างเล่นสัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณดาวเทียม ซึ่งสื่อทั่งสองชนิดจะต้องมีตัวรับหรือตัวแปลงสัญญาณซึ่งทำหน้าที่ในการการจายและแปลงสัญญาณให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและรับรู้ถึงข้อมูลได้ แล้วแต่ชนิดและลักษณะการทำงานของแต่ละอุปกรณ์
3. วิธีการหรือมาตรฐานในการสื่อข้อมูลหรือทรัพยากร     มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน OSI นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้
    1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป
    2. แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
    3. หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน
    4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
    5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม
    6. มีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
    7. มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น

รูปมาตรฐาน OSI แบ่งแยกตามส่วนการทำงาน
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/layer.gif
1. ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร มีหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ จะถูกกำหนดอยู่ในชั้นนี้
2. ชั้น Data Link มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจสอบ คอยควบคุมความผิดำพลาดในข้อมูลโด่ยจะมีการสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าจะส่งถึงปลายทางหรือผู้รับ ชั้น Data Link นี้จะป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องรับ
3. ชั้น Network มีหน้าที่กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยจะเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารที่น้อยที่สุด และระยะทางที่สั้นที่สุด
4. ชั้น Transport มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันข้อมูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นไปถึงปลายทางจริงๆ
5. ชั้น Session มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โดยจะกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่ง
6. ชั้น Presentation มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ
7. ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของมาตรฐาน OSI มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง เช่น เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
โมเด็ม (Modem)
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/modem-asus.gifhttp://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/modem.jpeg
       เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับช่องทางการสื่อสาร กล่าวคือคอมพิวเตอร์จะประมวลผลลัพธ์ออกมาในรูปของดิจิตัล เมื่อต้องการส่งข้อมูลนี้ไปบนช่องทางการสื่อสาร เช่น ต่อเชื่อมผ่านทางสายโทรศัพท์ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งผ่านไปบนสายโทรศัพท์ ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากที่อื่นส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนั้นมาเป็นสัญญาณดิจิตัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าใจได้

ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater)
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/hub.gifhttp://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/net_1.gif

       เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่องเมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น
สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge)

http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/switch.gif

       เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลงและติดตั้งง่าย
เร้าเตอร์ (Router)
http://www.tapee.ac.th/webtapee/maintenance/network/image/router.gif
       เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่งแน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น
เกทเวย์ (Gateway)
       เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย
การวางแผนก่อนติดตั้งระบบเครือข่าย
       จากองค์ประกอบข้างต้นก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกรูปแบบและวิธีการในการวางระบบเครือข่ายเราจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงระบบเครือข่ายที่เรากำลังจะวาง ว่าระบบเครือข่ายของเรา มีความต้องการด้านใดบ้าง เหมาะสมกับระบบเครือข่ายประเภทไหน และทำอย่างไรเพื่อให้มีการรองรับการขยายหรือการเติบโตของระบบเครือข่าย
ในอนาคตได้ ซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้
       1. ออกแบบวางระบบเครือข่าย
       2. แบบแปลนที่ได้จะนำมาวิเคราะห์และนำไปออกแบบด้านอุปกรณ์ เพื่อให้เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบและ นโยบายของเราต่อไป
       3. กำหนดค่า Network ต่างๆ
       4. ตรวจสอบสเป็กเครื่องที่จะใช้ทำ Server โดยดูจากความจำเป็นในการใช้และความสำคัญของข้อมูลที่ให้บริการ
       5. ออกแบบหรือวางระบบ Internet หรือ Network เดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อทำให้ สามารถใช้งาน Internet ได้ เช่น เขียนผังอาคารหรือสำนักงานอย่างละเอียด กำหนดระยะทาง จุดติดตั้ง Client ทั้งปัจจุบันและอนาคต การใช้งานที่ต้องการเช่น File,Print, CD ROM Server และ Internet จำนวนสมาชิก ฝ่าย งาน หรือแผนก…. อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ เช่น Router, Switch, HUP, NIC, Cable …. รายละเอียดการเชื่อมต่อสัญญาณกับ ISP การให้บริการลูกข่ายภายนอก
1.6 ระบบคอมพิวเตอร์จากวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงระบบ ปฏิบัติการที่ทันสมัยมีโครงสร้างที่เหมาะสมและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามคุณสมบัติการทำงานดังนี้
1.6.1 ระบบที่ไม่มีระบบปฏิบัติการระบบคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆมีแต่เครื่องเปล่าๆไม่มีระบบปฏิบัติการผู้ใช้จะต้องเขียนโปรแกรมทั้งหมดตั้งแต่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล ทำงานตามโปรแกรม ทำให้ใช้ประโยชน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้น้อยมากไม่ค่อยคุ้มค่า และราคาค่อนข้างแพงทำให้การใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในวงจำกัด และต้องจัดระบบภายหลังการใช้งานด้วยดังนั้นถ้าพิจารณาความสามารถในการดูแลและควบคุมระบบจะดีกว่าผู้ใช้ทั่วไป
1.6.2 ระบบงานแบ็ตซ์ (Batch system)ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาการนำดีไวซ์สำหรับการนำข้อมูลเข้าระบบ และนำข้อมูล
ออกจากระบบมาใช้งาน เช่น การ์ด, เทป ส่วนดีไวซ์ที่นำข้อมูลจากระบบ เช่น เครื่องพิมพ์, เทป และการ์ดเจาะรู การทำงานในลักษณะนี้ ผู้ใช้ไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับระบบ เช่น เครื่องพิมพ์, เทป และการ์ดเจาะรู การทำงานในลักษณะนี้ผู้ใช้ไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับระบบ เป็นเพียงผู้เตรียมข้อมูล เขียนโปรแกรม และข้อมูลสำหรับการควบคุมระบบ จึงมีภาษาที่เรียกว่า ภาษาคุมงาน” (Job Control Language : JCL) เมื่อเขียนโปรแกรมแล้วบรรจุลงการ์ดเจาะรู (Punchcard) หลังจากนั้นจะนำเข้าระบบโดยโอเปอเรเตอร์ ซึ่งลักษณะการถ่ายข้อมูลเป็นกลุ่มจากงานหนึ่งไปอีกงานหนึ่งนี้เรียกว่า แบ็ตซ์” (batch) ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะต้องฝากงานไว้กับโอเปอเรเตอร์เพื่อส่งงานเข้าระบบ โอเปอเรเตอร์จะเรียงลำดับงานเข้าเป็ฯกลุ่มที่ใช้ดีไวซ์หรือรีซอร์สที่คล้ายคลึงกัน เมื่อระบบโปรเซสงานเสร็จเรียบร้อยแล้วจะส่งผลให้โปรแกรมเมอร์ในลักษณะที่เหมาะสม เช่น การ์ดเจาะรู หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
การทำงานในระบบแบ็ตซ์ มีจุดด้อยตรงที่ความเร็วของซีพียูและอุปกรณ์รับ ส่งข้อมูล หรืออินพุต/เอาต์พุตจุมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานของอุปกรณ์รับ ส่งข้อมูลเป็นกลศาสตร์ ในขณะที่ซีพียูทำงานด้วยความเวลาของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ซีพียูต้องหยุดรอ ถึงแม้จะมีการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพแล้วก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้มากนักทำให้การใช้ประโยชน์ของซีพียูต่ำมาก เช่น ความเร็วของซีพียูในช่วงไมโครวินาที ซึ่งทำงานหลายพันคำสั่งใน 1 วินาที ในขณะที่เครื่องอ่านการ์ดอาจจะได้เพียง 1200 การ์ดใน 1 นาที
(20 การ์ดใน 1 วินาที) คุณจะเห็นความแตกต่างในเรื่องความเร็วของซีพียูกับอุปกรณ์ จึงได้มีการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหานี้ในสมัยแรก คือ ระบบบัฟเฟอร์ (Buffer) และระบบสพูลลิ่ง (Spooling)
1.6.3 การทำงานแบบบัฟเฟอร์ (Buffering)การทำงานในแบบบัฟเฟอร์นี้จะเป็นการขยายขีดความสามารถการทำงานของระบบ กล่าวคือระบบนี้จะให้หน่วยรับ แสดงผลทำงานไปพร้อม ๆ กับการประมวลผลของซีพียู โดยในขณะที่มีการประมวลผลคำสั่งที่โหลดเข้ามาของซีพียูนั้น จะมีการโหลดข้อมูลต่อไปเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อน เมื่อถึงเวลาประมวลผลซีพียูจะทำงานต่อได้ทันที และมีการโหลดข้อมูลต่อไปเข้าทดแทน หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลที่ส่งเข้ามาเตรียมพร้อมนี้ เรียกว่า บัฟเฟอร์” (Buffer) ในทางทฤษฎีนั้น ถ้าเวลาที่ใช้ในการประมวลผลกับเวลาที่ใช้ในการโหลดข้อมูลเข้ามาเท่ากัน ก็จะทำให้ซีพียูไม่ต้องระอุปกรณ์เลย (ประมวลผลต่อเนื่องได้ทันที) ทำให้มีการใช้ซีพียูได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากเวลาของซีพียูกับอุปกรณ์ยังไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ ความเร็วของอุปกรณ์ในการรับ แสดงข้อมูล และประเภทของงานที่ประมวลผลสำหรับสาเหตุอันเนื่องมาจากความเร็วของอุปกรณ์นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ซีพียูจะต้องมีความเร็วสูงกว่าความเร็วของอุปกรณ์ (แม้จะมีเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ใหม่ ๆ ก็ตาม) ถึงแม้จะมีบัฟเฟอร์ก็ไม่เพียงพอ จึงทำให้ซีพียูจะต้องหยุดรออุปกรณ์เสมอ ๆ ส่วนสาเหตุอันเนื่องมาจากประเภทของงานนั้นจะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า ซีพียูต้องรออุปกรณ์หรืออุปกรณ์จะต้องรอซีพียู ถ้างานนั้นต้องใช้หน่วยรับ แสดงข้อมูลมาก ๆ ซีพียูก็จะทำงานน้อย จึงทำให้ซีพียูต้องหยุดรออุปกรณ์ ในทางตรงข้าม ถ้างานนั้นเป็นงานที่ต้องใช้เวลาของซีพียูมาก ๆ เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ในขั้นแอ็ดวานซ์ ก็จะทำให้ใช้เวลากับหน่วยรับ แสดงข้อมูลน้อย ๆ มีผลให้อุปกรณ์ต้องหยุดรอซีพียู เป็นต้น
ตั้งแต่สมัยแรกที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ล่วงมาจนถึงปัจจุบัน ความเหลื่อมล้ำของเวลาจะเป็นในด้านที่ใช้ประสิทธิภาพของซีพียูต่ำ นั่นหมายถึงซีพียูต้องหยุดรออุปกรณ์เสมอ ๆ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการคิดค้นเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เช่น เพิ่มความเร็วของบัส, ความเร็วในการรับ ส่งข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ATA 100 ขยายบัฟเฟอร์เป็น 2 เมกะไบต์, มีพอร์ต USB, เพิ่มหน่วยความจำการ์ดแสดงผลเป็นหลายสิบเมกะไบต์ เป็นต้น แต่ก็ช่วยได้ไม่มากนัก เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ทำงานในลักษณะกลศาสตร์ ในขณะที่ซีพียูเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีมาขยายขีดความสามารถของซีพียู หลักการง่าย ๆ ก็คือในช่วงที่ซีพียูว่าง ๆ นั้นก็มีคำสั่งให้ซีพียูต้องประมวลผล โดยไม่ต้องมีเวลาว่าง พูดง่าย ๆ ก็คือเพิ่มโปรแกรมให้ซีพียูทำงานหลาย ๆ โปรแกรม หลักการของวิธีนี้เรียกว่า มัลติโปรแกรมมิ่ง” (Multiprogramming) ซึ่งจะกล่าวต่อไป
1.6.4 ระบบสพูลลิ่ง (Spooling System)
เมื่อมีการคิดค้นเทคโนโลยีเทปแม่เหล็กมาใช้งานร่วมกับเครื่องอ่านบัตรทำให้มีการ
ประสิทธิภาพของซีพียูมากขึ้น แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นโดยจะจำลองข้อมูลจากบัตรลงบนเทป เมื่อโปรแกรมต้องการอ่านบัตร ระบบปฏิบัติการจะเปลี่ยนไปอ่านที่เทปแทน หรือแม้แต่การพิมพ์ก็โหลดข้อมูลลงบนเทปก่อนแล้วจึงพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เรียกว่าทุกขั้นตอนจะต้องทำผ่านเทปแม่เหล็กนี้ก่อนทุกงาน ถึงแม้จะทำให้เพิ่มความเร็วของงานได้บ้างแต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่โปรแกรมจะต้องทำงานผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มากขึ้น จนเมื่อมีการคิดค้นดิสก์ หรือจานแม่เหล็กขึ้นมาช่วยงาน ทำให้หันมาให้งานดิสก์กันมากขึ้นเนื่องจากเหตุผลดังนี้
- ถ้าใช้เทปเมื่อทำการประมวลผลข้อมูลในเทปจะทำการโหลดข้อมูลจากเครื่อง
อ่านบัตร ลงเทปม้วนเดียวกันไม่ได้
- การแอ็กเซสข้อมูลในดิสก์จะทำโดยตรง ในขณะที่การแอ็กเซสข้อมูลในเทป
จะเป็นแบบซีเควนเชียล (sequential) หรือเรียงลำดับ
- เนื่องจากในดิสก์จะแอ็กเซสข้อมูลโดยตรงและทำงานได้ทันที (โดยมี
โปรแกรมพิเศษที่โหลดข้อมูลจากอุปกรณ์พร้อมกับการทำงานของโปรแกรมจากผู้ใช้) แต่สำหรับเทปการโหลดข้อมูลจะต้องทำคนละเวลากับการประมวลผล
ลักษณะของทำงานของดิสก์กับอุปกรณ์รับ - แสดงข้อมูลที่ต้องคู่ขนานกันไปนี้จะเป็นพื้นฐานของมัลติโปรแกรมมิ่งนั่นเอง ซึ่งอาจจะเรียกว่า สพูลลิ่ง” (Spooling) ซึ่งมาจากคำว่า Simultaneous Peripheral Operation On – Line ซึ่งหลักการทำงานแบบสพูลลิ่งนี้มีข้อดีที่เห็นได้ชัดเจน 2 ข้อคือ
- สพูลลิ่งเป็นระบบสำหรับงานมัลติโปรแกรมมิ่งพื้นฐาน ทำให้มีการใช้ซีพียได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะทำงานพร้อมกันของงาน 2 งาน โดนงานแรกจะประมวลผล ส่วนงานที่สองเป็นการรับ แสดงผลข้อมูลของอีกงานหนึ่ง (ต่างกับบัฟเฟอร์ตรงที่บัฟเฟอร์จะทำงานพร้อมกันระหว่างประมวลผลกับการรับ แสดงข้อมูลในงานเดียวกัน)
- เนื่องจากมีการแอ็กเซสข้อมูลของดิสก์เป็นแบบโดยตรง ดังนั้นเมื่อมีงานส่งเข้ามาจะถูกจัดเป็น jobpool ทำให้ระบบสามารถเลือกได้ว่าจะประมวลผลงานใดก่อนหลังตามลำดับความสำคัญ (Priority) ดังนั้นงานใดที่มีความสำคัญ เช่น งานของผู้บริหารระบบก็จะทำงานนั้นก่อน หรือเลือกอุปกรณ์ใดสนับสนุนงานนั้นก่อน เป็นต้น

1.6.5 ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)ระบบสพูลลิ่งเป็นพื้นฐานง่าย ๆ ของมัลติโปรแกรมมิ่งเนื่องจากมีการรันโปรแกรม 2
โปรแกรมพร้อมกันในลักษณะขนานกันไป แต่ก็ยังใช้ประโยชน์ซีพียูได้ไม่เต็มที่เนื่องจากโปรแกรมที่รันพร้อมกันนั้นถ้ามีการดึงข้อมูลจากการ์ด หรือเทป จะทำให้มีการหยุดรอ เนื่องจากเป็นการทำงานในลักษณะงานใดเข้ามาก่อนก็จะทำให้ก่อน (firstcome, first – served) อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการดึงข้อมูลจากดีไวซ์ที่สามารถแอ็กเซสได้โดยตรง เช่น ดิสก์ ก็จะเป็นมิลติโปรแกรมมิ่ง หลักการทำงานของมัลติโปรแกรมมิ่งคือจะโหลดโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำหลักพร้อมที่จะประมวลผลได้ทันที ระบบปฏิบัติการจะเลือกงานเข้าไปประมวลผลเรื่อยไปจนกว่าจะมีการหยุดคอยงานบางอย่าง เช่น รอให้เจ้าหน้าที่ใส่เทปเข้าตู้เทป เป็นต้น ในช่วงที่หยุดรอนี้ ระบบปฏิบัติการจะดึงงานเข้าไปประมวลผลต่อทันทีทำให้มีการใช้ซีพียูมากขึ้น ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่างานทุกงานจะเสร็จเรียบร้อย ซึ่งในระบบปฏิบัติการที่ไม่ใช่มัลติโปรแกรมมิ่งในช่วงนี้ซีพียูจะต้องรอนั่นเองอาจถือได้ว่าระบบมัลติโปรแกรมมิ่งเป็นจุดกำเนิดของศาสตร์ทางด้านระบบปฏิบัติการ เนื่องจากในระบบมัลติโปรแกรมมิ่งไม่ว่าจะซับซ้อนเพียงใด ถ้ามีการทำงานพร้อมกันหลายงานระบบปฏิบัติการจะต้องมีการควบคุมและจัดการองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การจัดเวลาของซีพียู, การจัดการหน่วยความจำ, การจัดการอุปกรณ์ รวมถึงการจัดการทรัพยากรในกรณีที่เกิดการขัดแย้งในลักษณะที่เรียกว่า “deadlock”, การป้องกันระบบ และการรักษาความปลอดภัย อีกด้วย

1.6.6 ระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing System) ในสมัยแรกเริ่มของการใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะต้องจองเวลาและครอบครองเครื่องนั้นแบบสมบูรณ์แต่เพียงผู้เดียว นั่นหมายความว่าผู้ใช้นั้นสามารถทำอะไรก็ได้ในเวลาที่เขาครอบครองอยู่ แต่เนื่องจากเครื่องมีราคาแพงและความต้องการที่ใช้คอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด แทนที่จะให้ผู้ใช้มานั่งคิดและแก้ไขปัญหาหน้าคอมพิวเตอร์นั้น ทำให้ผู้ใช้ต้องเซ็ตอัพการ์ดควบคุมให้ครอบคลุมผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นผลให้ผู้ใช้แทบจะไม่ได้เห็นคอมพิวเตอร์เลย ทำให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing) หรือมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) เป็นศาสตร์ที่ขยายระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง ที่ทำให้สามารถรันโปรแกรมได้หลายงาน โดยซีพียูจะทำหน้าที่สับเปลี่ยนการรันงานไปมา แต่การสับเปลี่ยนทำด้วยความเร็วสูงทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกเหมือนอินเทอร์แอ็กทีฟโดยตรง (Interactive) กับโปรแกรมของตนเองระบบแบ่งเวลาเป็นอินเทอร์แอ็กทีฟที่ผู้ใช้จะติดต่อโดยตรงกับเครื่องผ่านทางเทอร์มินอล (terminal) ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์รับข้อมูล ( เช่น เมาส์, คีย์บอร์ด) และอุปกรณ์แสดงผล (เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์) ผู้ใช้สามารถสั่งให้ระบบ หรือโปรแกรมทำงานได้ทันที (หรืออาจจะล่าช้าไปบ้างทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับ ขนาดของงาน, ขีดความสามารถของเครื่อง, ปริมาณงานในระบบ และลำดับความสำคัญของงานก่อนหลัง เป็นต้น) ระบบปฏิบัติการที่มีการแบ่งเวลาจะต้องมีการจัดเวลาซีพียูและมัลติโปรแกรมมิ่งเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อติดต่อกับโปรแกรมของผู้ใช้ที่โหลดไว้บนหน่วยความจำ ซึ่งในขณะที่ประมวลผลอาจจะมีความจำเป็นต้องติดต่ออุปกรณ์ภายนอกทำให้การประมวลผลหยุดชะงักเนื่องจากความเร็วของซีพียูและความเร็วของอุปกรณ์ไม่เหมาะสมกัน แทนที่จะให้ซีพียูหยุดรอ ระบบปฏิบัติการจะสับเปลี่ยนให้ซีพียูทำโปรแกรมส่วนอื่นต่อไป ระบบปฏิบัติการแบบแบ่งเวลาจะมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการแบบมัลติโปรแกรมมิ่ง โดยระบบมัลติโปรแกรมมิ่งจะโหลดโปรแกรมหลายโปรแกรมไว้บนหน่วยความจำพร้อมกัน แต่เนื่องจากความจำมีน้อยทำให้มีการนำไปเก็บบนดิสก์เพิ่มเติม และเพื่อให้เวลาตอบสนอง (response time) อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ระหว่างที่มีการเปลี่ยนไปมาระหว่างหน่วย ความจำกับดิสก์ ทำให้ต้องมีการจัดการจัดการ  สำหรับเป้าหมายนี้โดยใช้หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้การประมวลผลของงานดำเนินได้ทั้งที่อาจจะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอ ซึ่งข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดคือโปรแกรมสามารถมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำทางกายภาพ แต่ในระบบแบ่งเวลาจะต้องมีการจัดการระบบไฟล์ ระบบไฟล์ต้องอาศัยดิสก์ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการ นอกจากนี้ระบบแบ่งเวลาต้องมีกลไกในการประมวลผลพร้อมกันหลายโปรแกรม ซึ่งจะต้องมีการจัดเวลาซีพียู ต้องมีการจัดลำดับงาน เพื่อให้มั่นใจได้ถึงลำดับงานที่ถูกต้องนั่นเอง รวมถึงปัญหาขัดแย้งอุปกรณ์ในลักษณะ deadlock ทั้งมัลติโปรแกรมมิ่งและระบบแบ่งเวลาเป็นศาสตร์ของระบบปฏิบัติการยุคใหม่ที่น่าติดตาม
1.6.7 ระบบเรียลไทม์ (Real-Time System)ระบบเรียลไทม์ (Realtime) คือระบบที่สามารถให้การตอบสนองจากระบบอย่าง
ทันทีทันใดเมื่อได้รับอินพุตเข้าไป ในทางอุดมคติระบบเรียลไทม์นี้จะเป็นระบบที่ไม่เสียเวลาในการประมวลผลหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเวลาในการประมวลเป็นศูนย์ แต่ในทางปฏิบัติเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบเรียลไทม์นี้ไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้ เราทำได้เพียงการลดเวลาการประมวลผลให้น้อยที่สุด จนไม่สามารถเห็นความแตกต่างของช่วงเวลาที่ป้อนอินพุตเข้าไปและได้รับเอาต์พุตออกมา เวลาของความแตกต่างนี้เรียกว่า เวลาตอบสนอง” (response time) ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปต้องการเวลาตอบสนองให้น้อยที่สุดเพื่อประสิทธิภาพของระบบ ระบบเรียลไทม์นิยมนำไปใช้ในการควบคุมกระบวนการในทางอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันสามารถควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยให้ค่าเวลาตอบสนองที่ยอมรับได้ สำหรับในวงการคอมพิวเตอร์ระบบเรียลไทม์เข้าใกล้อุดมคติมากขึ้นเนื่องจากความเร็วในการประมวลผลของซีพียู

1.6.8 ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer Systems) เมื่อฮาร์ดแวร์ราคาถูกลงทำให้มีการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานคนเดียว ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซีดีไวซ์สำหรับรับและแสดงผลเปลี่ยนไปเป็นแบบกดปุ่ม สับสวิตซ์ เครื่องอ่านการ์ดเปลี่ยนเป็นลักษณะคล้ายพิมพ์ดีดที่เรียกว่า คีย์บอร์ดรวมทั้งมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่เรียกว่า เมาส์เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ และการ์ดเจาะรูเปลี่ยนเป็นมอนิเตอร์และเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้เริ่มปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1970 ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ CP/M พัฒนาต่อมาเป็น DOS
1.6.8 ระบบเวอร์ชวลแมชีน (Virtual Machine)
ระบบนี้จะช่วยให้คิดว่าผู้ใช้กำลังใช้งานกับคอมพิวเตอร์หลายเครื่องทั้ง ๆ ที่ทำงานบน
เครื่องเดียว โปรแกรมเช่นนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้หลายคนทำงานกับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว เนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เทอร์มินอลของตนเองทำให้คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของเครื่องโดยลำพัง ระบบเมนเฟรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเวอร์ชวลแมซีน เมื่อมีการใช้เทคนิคการจัดเวลาของซีพียูและความจำเสมือนทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลาย โปรเซสพร้อม ๆ กัน โดยแต่ละโปรเซสสามารถเอ็กซิคิวต์ได้ด้วยโปรเซสเซอร์และหน่วย ความจำ (เสมือน) ของตัวเอง แต่โปรเซสจะต้องเพิ่มเติมฟีเจอร์สำหรับจัดการ เช่น system call หรือระบบไฟล์ที่ระบบฮาร์แวร์ดั้งเดิมไม่มี จริง ๆ แล้วเวอร์ชวลแมซีนไม่ได้เพิ่มเติมฟังก์ชัน แต่จะกำหนดรูปแบบเฉพาะให้กับฮาร์ดแวร์ โดยสร้างเวอร์ชวลแมซีนขั้นกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับ kernel ที่ติดต่อกับโปรเซสจะมีการแชร์รีซอร์สของคอมพิวเตอร์ทางกายภาพเพื่อร่วมกันสร้างเป็นเวอร์ววลแมซีน การจัดเวลาของซีพียู และสร้างสิ่งที่ให้ผู้ใช้คิดว่าผู้ใช้เป็นเจ้าของโปรเซลเซอร์ ระบบสพูลลิ่งและระบบไฟล์ทำให้สามารถใช้เครื่องการ์ดแบบเวอร์ชวล และเครื่องพิมพ์แบบเวอร์ชวล และสำหรับเทอร์มินัลที่ใช้ระบบแบ่งเวลาก็จะสนับสนุนฟังก์ชันสำหรับเทอร์มินอลแบบเวอร์ชวล เช่นกัน
1.6.9 ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System)ระบบส่วนมากจะใช้โปรเซสเซอร์เพียงตัวเดียว หรือใช้ซีพียูหลักเพียงหนึ่งตัวนั่นเอง แต่ก็มีระบบที่ใช้โปรเซสเซอร์มากกว่าหนึ่งตัวที่เรียกว่าระบบมัลติโปรเซสเซอร์ระบบในลักษณะนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารในระยะใกล้, มีการใช้บัส (bus), สัญญาณนาฬิกา (clock) ,หน่วยความจำ และดีไวซ์ร่วมกัน มีเหตุผลหลายประการที่ใช้มัลติโปรเซสเซอร์ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลดังนี้
- เพิ่มประสิทธิภาพของเอาต์พุต การที่ใช้ระบบมัลติโปรเซสเซอร์จะทำให้ได้เอาต์พุตเร็วขึ้น ใช้เวลาน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าใช้ N โปรเซสเซอร์ แล้วงานจะเสร็จเร็วขึ้น N เท่า แต่น้อยกว่า N แน่นอน
- ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับระบบโปรเซสเซอร์เดี่ยวหลายระบบ ทั้งนี้เนื่องจากในระบบมัลติโปรเซสเซอร์สามารถแบ่งปันดีไวซ์ต่าง ๆ ได้ ถ้าโปรแกรมต่าง ๆ ต้องการข้อมูลชุดเดียวกันจะเป็นการประหยัดเมื่อเก็บไว้บนดิสก์เดียวกันแล้วแชร์ให้ใช้งานร่วมกันดีกว่าการใช้ดิสก์ระบบละหนึ่งตัวโดยมีข้อมูลชุดเดียวกัน
- ความน่าเชื่อถือของระบบ เนื่องจากถ้ามีโปรเซสเซอร์ใดทำงานผิดพลาด หรือทำงานไม่ได้ โปรเซสเซอร์ตัวอื่นก็สามารถทำงานทดแทนได้ทันที โดยรับส่วนแบ่งมาช่วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระบบใช้โปรเซสเซอร์ 10 ตัว แล้วมีตัวหนึ่งที่ไม่ทำงาน โปรเซสเซอร์อีก 9 ตัวจะแบ่งงานของตัวนั้นไปทำต่อ ซึ่งถึงแม้ว่าระบบจะช้าลงไป 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ดีกว่าทำงานไม่ได้ทั้งระบบ การกระทำลักษณะนี้เรียกว่า “Graceful Degradation” ส่วนระบบที่ออกแบบมาสำหรับ Graceful Degradation นี้เรียกว่า “Fault-Tolerant”
1.6.10 ระบบแบบกระจาย (Distributer System)
ระบบคอมพิวเตอร์อีกแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้คือระบบแบบกระจาย ซึ่งจะต่างกับระบบหลายโปรเซสเซอร์ที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา โดยระบบหลายโปรเซสเซอร์จะเป็นระบบเดียวที่มีหลายโปรเซสเซอร์แล้วแชร์ดีไวซ์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน แต่ระบบแบบกระจายเป็นระบบที่แยกออกมาเป็นระบบย่อย โดยแต่ละระบบจะใช้โปรเซสเซอร์หนึ่งตัวและจะมีดีไวซ์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นของตัวเอง เช่น มีดิสก์เป็นของตัวเอง, มีหน่วยความจำเป็นของตัวเอง เป็นต้น การติดต่อสื่อสารระหว่างระบบอาจจะใช้บัสความเร็วสูง, สายโทรศัพท์ หรืออาจจะเป็นสาย UTP เป็นต้น ระบบกระจายนี้อาจจะมีขนาดและฟังก์ชันของโปรเซสเซอร์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจจะเป็นไมโครโปรเซสเซอร์, เวิร์คสเตชัน, มินิคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ มีชื่อสำหรับเรียกโปรเซสเซอร์เหล่านี้มากมาย เช่น ไซต์(site) , โหนด (node) ,คอมพิวเตอร์ (computer) ขึ้นอยู่กับว่าจะกล่าวในลักษณะใด สำหรับเหตุผลในการสร้างเป็นระบบแบบกระจาย อาจจะเป็นดังนี้
- การแชร์ทรัพยากร ถ้ามีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและกำหนดให้มีการแชร์แล้ว ผู้ใช้จากไซต์หนึ่งสามารถใช้รีซอร์สจากไซตอื่นได้ถ้ารีซอร์สนั้นว่าง เช่น ผู้ใช้จากไซต์ A สามารถส่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่ไซต์ B ได้ เป็นต้น นอกจากเครื่องพิมพ์แล้วรีซอร์สที่สามารถแชร์ได้ อาจจะเป็นไฟล์ , ฐานข้อมูล, ดิสก์ ตลอดจนดีไวซ์ต่าง ๆ อีกด้วย
- เพิ่มความเร็วในการคำนวณ ถ้าการคำนวณนั้นสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้ก็สามารถแบ่งให้โปรเซสเซอร์อื่น ๆ คำนวณได้เช่นกัน เมื่อแต่ละส่วนคำนวณเสร็จก็จะรวบรวมเป็นผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อนำไปใช้งานต่อไป นอกจากนี้ถ้ามีไซต์ใดโหลดงานไว้มากเกินไป ก็จะมีการย้ายงานนั้นไปให้โปรเซสเซอร์อื่นที่มีโหลดไม่มากนัก การย้ายงานนี้อาจเรียกได้ว่า การแชร์โหลด”(Load Sharing)
- ความน่าเชื่อถือของระบบ เหตุผลข้อนี้เป็นการทำให้ระบบทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อมีโปรเซสเซอร์ใดไม่สามารถทำงานได้จะมีการแบ่งงานไปให้โปรเซสเซอร์อื่น ทำให้การประมวลผลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
- การติดต่อสื่อสาร นอกจากการแชร์อุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารแล้ว คุณยังสามารถอาศัยการติดต่อสื่อสารของระบบแบบกระจายนี้ไปเพิ่มประสิทธิภาพของงาน เช่น การแลกเปลี่ยนโค้ดของโปรแกรมเมอร์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข่าวสารและรับ-ส่งไฟล์ผ่านทางอีเมลล์ที่สามารถทำบนไซต์เดียวกัน หรือคนละไซต์ก็ได้
1.7 โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดเตรียมสภาวะแวดล้อมเพื่อช่วยให้โปรแกรมทำงานได้ การ
ออกแบบถือเป็นงานหลักในการสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ ก่อนการออกแบบจะต้องกำหนดเป้าหมายของระบบขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นจะต้องสร้างอัลกอริทึมที่หลากหลายที่จะเป็นต้องใช้ในการสร้างระบบ แล้วสร้างระบบตามอัลกอริทึมนั้นมีจุดที่น่าสนใจในการพิจารณาระบบปฏิบัติการ 2-3 ประการ ประการแรกให้พิจารณาเซอร์วิสของระบบ ปฏิบัติการที่มีมาให้ ประการที่สองคือการดูที่อินเทอร์เฟซระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมเมอร์ ประการสุดท้ายคือการแยกส่วนประกอบของระบบออกเป็นส่วนย่อย ๆ รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างส่วนย่อย ๆ นั้นด้วย ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะนำคุณเข้าไปสำรวจจุดที่ควรพิจารณาทั้ง 3 ประการของระบบปฏิบัติการเพื่อแสดงมุมมองของผู้ใช้, โปรแกรมเมอร์และผู้ออกแบบระบบ เราจะพิจารณาเซอร์วิสของระบบปฏิบัติการว่ามีอะไรบ้าง แต่ละเซอร์วิสทำอะไรบ้าง รวมถึงวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกแบบระบบ
1.7.1 คอมโพเนนต์ของระบบ (System Component)เราสามารถสร้างระบบให้ใหญ่โตและซับซ้อนได้ด้วยการแบ่งให้เป็นส่วนย่อย แต่ละส่วนย่อยเหล่านี้เป็นโครงสร้างของระบบที่ออกแบบอินพุต, เอาต์พุต และฟังก์ชัน แต่เดิมนั้นทุกระบบมีคอมโพเนนต์ที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามระบบสมัยใหม่มีเป้าหมายที่สนับสนุนคุมโพเนนต์ที่เป็นพื้นฐานของระบบปฏิบัติการดังนี้
1.7.1.1 การจัดการโปรเซส (Process Management)ซีพียูทำหน้าที่เอ็กซิคิวต์คำสั่งที่อยู่ในโปรแกรม โปรแกรมที่เอ็กซิคิวต์เป็นโปรเซสแต่เป็นเพียงการกำหนดในเบื้องต้นที่สามารถขยายเพิ่มเติมในอนาคต โดยปกติแล้วงานแบ็ตซ์เป็นโปรเซส การแชร์เวลาของโปรแกรมก็เป็นโปรเชส หรือแม้แต่งานของระบบ เช่น การสพูล เอาต์พุตออกทางเครื่องพิมพ์ ก็เป็นโปรเซสเช่นกัน โปรเซสต้องการรีซอร์สที่แน่นอนเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ ทั้งเวลาสำหรับซีพียู, หน่วยความจำ, ไฟล์, และดีไวซ์ที่เป็นอินพุตและเอาต์พุต รีซอร์สเหล่านี้จะนำมาใช้เมื่อมีการสร้างหรือกำหนดให้โปรเซสทำงาน นอกจากนี้เมื่อมีการสร้างโปรเซสก็อาจจะมีการส่งข้อมูลเริ่มต้นไปให้ทั้งรีซอร์สทางกายภาพและทางลอจิก โปรเซสเป็นหน่วยหนึ่งของระบบ โดยปกติระบบจะประกอบด้วยโปรเซสเป็นจำนวนมาก บ้างก็เป็นโปรเซสของระบบปฏิบัติการ (ที่เอ็กซิคิวต์โค้ดของระบบ) ที่เหลือก็เป็นโปรเซสของผู้ใช้ (ที่เอ็กซิคิวต์โค้ดของผู้ใช้) โปรเซสทั้งหมดนี้มีศักยภาพที่จะเอ็กซิคิวต์ไปพร้อม ๆ กันด้วยความซับซ้อนของซีพียูนั่นเอง ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการโปรเซสดังนี้
- การสร้างและลบทั้งโปรเซสของระบบและของผู้ใช้
- การหยุดและทำโปรเซสต่อไป
- การจัดเตรียมกลไกสำหรับการซินโครไนซ์โปรเซส
- การจัดเตรียมกลไกสำหรับการติดต่อสื่อสารโปรเซส
- การจัดเตรียมกลไกการแก้ไข deadlock
1.7.1.2 การจัดการหน่วยความจำ (Memory Managememt)หน่วยความจำเป็นส่วนสำคัญและเป็นศูนย์กลางการทำงานของระบบปฏิบัติการยุคใหม่
หน่วยความจำเป็นอาร์เรย์ของคำหรือไบต์ โดยที่แต่ละคำหรือไบต์จะมีแอ็ดเดรสที่แน่นอนเป็นของตัวเอง หน่วยความจำเป็นที่เก็บข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันของซีพียู และดีไวซ์สำหรับอินพุตและเอาต์พุต เพื่อให้การดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว โปรเซสเซอร์ส่วนกลาง หรือซีพียูจะอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำตลอดเวลาในวงรอบการดึงข้อมูล และมีทั้งการเขียนและอ่านจากหน่วยความจำระหว่างวงรอบการดึงข้อมูล การทำงานของอินพุต/เอาต์พุตทั้งการอ่านและเขียนลงหน่วยความจำจะจำผ่าน DMA โดยปกติหน่วยความจำจะเป็นดีไวซ์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซีพียูกำหนดแอ็ดเดรสและดึงข้อมูลได้โดยตรง
1.7.1.3 การจัดการไฟล์ (File Management)การจัดการไฟล์เป็นส่วนหนึ่งในคอมโพเนนต์ของระบบปฏิบัติการที่เห็นได้ชัดเจน
คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บในสื่อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเทปแม่เหล็ก, ดิสก์, ออพติคัลดิสก์ สื่อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและการจัดทางกายภาพเฉพาะแบบ สื่อแต่ละชนิดจะถูกควบคุมด้วยดีไวซ์ เช่น ดิสก์ไดรฟ์, หรือเทปไดรฟ์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะแบบเช่นกัน คุณสมบัติเหล่านี้รวมถึง ความเร็ว, ความจุ, อัตราการถ่ายโอนข้อมูล และวิธีการแอ็กเซสข้อมูล เพื่อความสะดวกในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์นั้น ระบบปฏิบัติการได้กำหนดชื่อทางลอจิกว่า ไฟล์เพื่อเป็นชื่อแทนกลุ่มข้อมูลที่จัดเก็บในสื่อทางกายภาพ โดยที่ระบบปฏิบัติการจะแมพไฟล์ไปยังสื่อทางกายภาพและแอ็กเซสไฟล์ผ่านทางดีไวซ์ที่จัดเก็บข้อมูลนั้น ทำให้คุณใช้ชื่อไฟล์เพื่อกำหนดสิ่งที่คุณต้องการดูข้อมูลได้ทันที ไฟล์จะเป็นชุดของข้อมูลที่สัมพันธ์กันซึ่งถูกกำหนดชื่อโดยผู้สร้างไฟล์นั้น โดยปกติแล้ว ไฟล์จะแสดงโปรแกรมและข้อมูล ไฟล์ข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลข, ตัวอักษร หรือทั้งตัวเลขและตัวอักษร ไฟล์อาจจะเป็นรูปแบบอิสระ เช่น เท็กซ์ไฟล์ หรืออาจจะเป็นรูปแบบที่ตายตัว ไฟล์ประกอบด้วยชุดของบิต, ไบต์, หรือเรกคอร์ดตามที่ผู้สร้างกำหนด ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการไฟล์ดังนี้
- สร้างและการลบไฟล์
- สร้างและการลบไดเรกทอรี
- สนับสนุนการจัดการไฟล์ในรูปแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา
- แมพไฟล์ไปยังสิ่งที่ใช้จัดเก็บข้อมูล
- แบ็คอัพหรือสร้างไฟล์สำรอง

1.7.1.4 การจัดการอินพุต/เอาต์พุต การออกแบบระบบปฏิบัติการมีจุดมุ่งหมายข้อหนึ่งเพื่อควบคุมดีไวต์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ
คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เนื่องจากดีไวซ์เหล่านั้นมีความหลากหลายในเรื่องฟังก์ชันและความเร็ว การควบคุมจำเป็นต้องใช้วิธีการที่หลากหลายเช่นกัน วิธีการควบคุมเหล่านี้เรียกว่าระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ kernel ที่แยกจากการจัดการหน่วยความจำที่ซับซ้อนในระบบเทคโนโลยีทางด้านดีไวซ์ได้แสดงให้เห็นข้อที่แย้งกัน 2 ด้าน ด้านแรกเทคโนโลยีทางด้านดีไวซ์ทำให้เราเห็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอินเทอร์เฟซของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มมากขึ้น การพัฒนาทางด้านนี้ทำให้เรามีส่วนร่วมในปรับปรุงเพื่อพัฒนาดีไวซ์เพื่อนำมาใช้งานได้มากขึ้น ส่วนทางด้านอื่นเราได้เห็นดีไวซ์ที่มีความหลากหลายในการเลือกใช้ดีไวซ์ใหม่บางชิ้นก็ไม่เหมือนเดิมที่มีอยู่ เป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้เราสามารถเลือกดีไวซ์ที่ต่างประเภทกันเพื่อใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบปฎิบัติการเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นอินพุต/เอาต์พุตพื้นฐานเช่น พอร์ต, บัส และดีไวซ์ที่หลากหลายเพียงใด ระบบปฏิบัติการมี kernel ที่จัดการกับดีไวซ์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี kernel ของระบบปฏิบัติการก็คือโครงสร้างที่ใช้โมดูล ดีไวซ์ไดร์เวอร์ดีไวซ์ไดร์เวอร์ได้แสดงถึงรูปแบบเฉพาะในการอินเทอร์เฟซระหว่างดีไวซ์กับระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุต ในขณะที่ระบบจะมีอินเทอร์เฟซมาตรฐานระหว่างแอปพลิเคชันกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้วนั่นเอง
ระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุตประกอบด้วย
- การจัดการหน่วยความจำที่รวมทั้งบัพเพอร์ ,แคช และสพูล
- อินเทอร์เฟซพื้นฐานของดีไวซ์ไดร์เวอร์
- ไดร์เวอร์สำหรับดีไวซ์ที่มีรูปเฉพาะ
1.7.1.5 การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage Management)เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของระบบคอมพิวเตอร์คือการเอ็กซิคิวต์โปรแกรม ในระหว่างการเอ็กซิคิวต์โปรแกรมรวมทั้งข้อมูลเหล่านี้จะใช้ต้องอยู่บนหน่วยความจำหลัก แต่เนื่องจากหน่วยความจำหลักเหล่านี้มีขนาดเล็ก และเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟฟ้าข้อมูลบนหน่วยความจำหลักก็จะสูญหายไปด้วย สิ่งนี้เองที่ระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสื่อจัดเก็บข้อมูล เพื่อถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อสะดวกในการใช้งานภายหลัง ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะใช้ดิสก์เป็นสื่อในการจัดเก็บข้อมูลทั้งโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นตัวคอมไพล์, ตัวเอดิเตอร์, ตัวแปลภาษา และอื่น ๆ จะถูกโหลดขึ้นสู่หน่วยความจำหลักก่อน เพื่อทำงานกับหน่วยความจำโดยตรง และมีการจัดเก็บข้อมูลเป็นระยะเมื่อคุณสั่งให้จัดเก็บและระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีระบบปฏิบัติการที่ทรงประสิทธิภาพจะมีการแปลงหน่วยจัดเก็บข้อมูลบนดิสก์ให้เป็นหน่วยความจำเสมือน ตลอดเวลาที่มีการใช้งาน และจะคืนสภาพทั้งหมดให้กับระบบก่อนการชัตดาวน์ระบบ การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูลที่เป็นความรับผิดชอบของระบบปฏิบัติการมีดังนี้
- จัดการเนื้อที่ว่างบนดิสก์
- จัดการตำแหน่งจัดเก็บข้อมูล ที่อาจจะกระจัดกระจาย แต่เมื่อมีการใช้งานจะต้องทำงานได้เร็ว โดยจะมีพอยเตอร์ชี้ไปยังกลุ่มข้อมูลเดียวกัน
- การจัดแบ่งเวลาการใช้ดิสก์
1.7.1.6 เน็ตเวิร์ค (Networking)ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่เพิ่มเติมในการจัดการทางด้านเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะแบบกระจายที่เป็นการทำงานของโปรเซสเซอร์ที่ไม่มีการแชร์หน่วยความจำ, ดีไวซ์ต่าง ๆ , หรือแม้แต่สัญญาณนาฬิกา โดยที่แต่ละโปรโซสเซอร์จะมีหน่วยความจำ และสัญญาณนาฬิกาเป็นของตัวเองและมีการติดต่อระหว่างโปรเซสเซอร์ผ่านทางสายสื่อสาร โดยใช้ระบบบัสที่มีความเร็วสูง หรืออาจจะใช้คู่สายโทรศัพท์สาย UTP ก็ได้
โปรเซสเซอร์ในระบบจะเชื่อมต่อผ่านเน็ตเวิร์คซึ่งสามารถปรับแต่งได้หลายรูปแบบ การออกแบบเน็ตเวิร์คจะต้องคำนึงถึงเส้นทางการเดินของข้อมูล, จุดเด่นจุดด้อยในการเชื่อมต่อแบบนั้น, ข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1.7.1.7 ระบบป้องกัน(Protecion System)ระบบปฏิบัติการจำเป็นต้องมีการป้องกันในกิจกรรมหรือโปรเซสที่อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น ระบบที่มีการเบิกถอนเงินในสาขาต่าง ๆ พร้อมกัน เป็นต้น จุดประสงค์หลักของการนี้จะต้องมีกลไกที่ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า ทั้งไฟล์, หน่วยความจำ, ซีพียู, และรีซอร์สอื่นๆ จะมีโปรเซสเกิดขึ้นได้เฉพาะคนที่ได้รับอนุญาตจากระบบเท่านั้น
คำว่าการป้องกัน หมายถึงกลไกที่ใช้ในการควบคุมการแอ็กเซสโปรแกรม, การโปรเซสและควบคุมผู้ใช้จากดีไวซ์ที่กำหนดโดยระบบคอมพิวเตอร์ กลไกนี้จะต้องกำหนดคุณสมบัติของการควบคุมและการบังคับอีกด้วย รีซอร์สที่ไม่ได้มีการป้องกันจะไม่สามารถป้องกันการใช้งานจากผู้ใช้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ได้ ดังนั้นระบบป้องกันก็คือระบบที่ควบคุมการใช้งานจากผู้มีสิทธิ์ และไม่มีสิทธิ์
1.7.1.8 ระบบตัวแปลคำสั่งตัวแปลคำสั่งนี้เป็นการอินเทอร์เฟซระหว่างผู้ใช้กับระบบปฏิบัติการ บางระบบปฏิบัติการจะมีตัวแปลคำสั่งอยู่ใน kernel เลย แต่ในบางระบบ เช่น DOS และ UNIX จะมีโปรแกรมพิเศษที่รันเมื่องานเริ่มต้น หรือเมื่อผู้ใช้เริ่มล็อกเข้าระบบครั้งแรก โดยในคำสั่งส่วนใหญ่จะมีคอนโทรลสเตทเมนต์ที่คอยส่งไปให้ระบบปฏิบัติการ เมื่อเริ่มงานใหม่ในแบบงานแบ็ตซ์ หรือเมื่อผู้ใช้ล็อกเข้าระบบจะมีการเอ็กซิคิวซ์โปรแกรมที่อ่านและแปลคำสั่งคอนโทรบสเตทเมนต์อย่างอัตโนมัติ คนทั่วไปรู้จักในชื่อ shell จะมีฟังก์ชันที่ธรรมดามากคือนำคำสั่งต่อไปเข้ามาเอ็กซิคิวต์
1.7.2 เซอร์วิสของระบบปฏิบัติการ (Operating System Services)เซอร์วิสพื้นฐานที่น่าสนใจของระบบปฏิบัติการมีดังนี้
- การเอ็กซิคิวต์โปรแกรม ระบบจะต้องโหลดโปรแกรมและข้อมูลลงสู่หน่วยความจำก่อนใช้งาน และจะสิ้นสุดการเอ็กซิคิวต์ได้ตามปกติ ถ้าผิดพลาดจะแสดงแมสเสจแจ้งเตือน
- การปฏิบัติกับอินพุต/เอาต์พุต ระบบอาจจะความต้องการติดต่อหรือต้องการใช้อินพุต/เอาต์พุต หรือใช้ดีไวซ์พิเศษ
- การจัดการกับระบบไฟล์ สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ
- การติดต่อสื่อสาร จะช่วยสื่อสารระหว่างโปรเซส การสื่อสารอาจจะใช้หน่วยความจำที่แชร์อยู่ หรืออาจใช้เทคนิคที่เรียกว่า แมสเสจพาสซิงซึ่งเป็นการย้ายเพ็กเกจของข้อมูลระหว่างโปรเซสในระบบปฏิบัติการ
- การตรวจจับข้อผิดพลาด ช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ระบบปฏิบัติการจะแสดงแอ็กชันที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขให้ต่อไป
- การแชร์รีซอร์ส ในกรณีมีงานเข้ามาหลายงานในเวลาเดียวกัน ระบบปฏิบัติการจะต้องการมีแชร์รีซอร์สให้เหมาะสม มีฟังก์ชันสำหรับจัดเวลาของซีพียู
- การป้องกัน ระบบปฏิบัติการจะให้อำนาจในการใช้รีซอร์สในลักษณะรหัสผ่าน
1.7.3 System CallsSystem Calls จัดเป็น 5 กลุ่มหลักคือ
- การควบคุมโปรเซส กลุ่มนี้เป็นการควบคุมโปรเซสทั้งหมด ขณะที่กำลังเอ็กซิคิวต์โปรแกรมอยู่นั้นอาจจะต้องการหยุดโปรเซสในลักษณะการหยุดปกติ, การหยุดแบบไม่ปกติ, โหลดข้อมูลเพิ่มเติม ฯลฯ
- การจัดการกับไฟล์ จะจัดการเกี่ยวกับไฟล์ทั้งหมด
- การจัดการดีไวซ์ กลุ่มนี้เป็นการจัดการดีไวซ์ในระบบเมื่อมีโปรเซส ระบบอาจจะเรียกใช้ดีไวซ์เพิ่มเติม
- การบำรุงรักษาข้อมูล กลุ่มนี้จะตอบสนองงานหลักของระบบปฏิบัติการ ในระบบส่วนใหญ่จะมีการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับระบบปฏิบัติการ
- การติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารระหว่างโปรเซสมี 2 รูปแบบ คือระหว่างโปรเซสในระบบคอมพิวเตอร์เดียวกัน และการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบคอมพิวเตอร์เข้ามเน็ตเวิร์คเอง กลุ่มนี้จะเป็นการเชื่อมต่อ ,รับ-ส่งแมสเสจ เป็นต้น

1.8 สรุป
คอมพิวเตอร์ คืออุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับข้อมูล
และชุดคำสั่ง (Program) ในรูปแบบที่เครื่องรับได้ แล้วนำมาประมวลผลข้อมูลตามชุด คำสั่งเพื่อแก้ปัญหา หรือทำการคำนวณที่สลับซับซ้อนจนได้ผลลัพธ์ตามต้องการ และยังสามารถบันทึก หรือแสดงผลลัพธ์เหล่านั้นได้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานในด้านต่าง ๆ มากมายทำให้มีการผลิตคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ , เมนเฟรมคอมพิวเตอร์, มินิคอมพิวเตอร์, พีซี, โน้ตบุค, พีดีเอ และการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเป็นเครือข่ายองค์ประกอบคอมพิวเตอร์มี 5 ส่วนจะต้องทำงานประสานกันคือฮาร์ดแวร์, ซอฟแวร์, บุคลากร, ข้อมูล และกระบวนการทำงาน ซึ่งแต่ละส่วนยังมีองค์ประกอบย่อยอีกหลายส่วน

 

ความหมายของอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เกิดจากการ


นำเอาระบบเครือข่ายย่อยหลายเครือข่ายมาเชื่อม
ต่อกัน ในแต่ละเครือข่ายจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ห ลักที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ (Server หรือ Host) มาเชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์หลักเหล่านี้จะให้บริการต่างๆ ตามลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายตั้งขึ้น และมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น ตัวอักษร ภาพ และเสียง เป็นต้น





พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
        





ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด

การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่


มหาวิทยาลัยยูทาห์
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด


และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว

งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน
ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่


พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP)
อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูล
ไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้




จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย


พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534




ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่องและโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง


ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้




ที่มา  :  http://student.swu.ac.th/ed4611116/et452/website/mainpagesub1.html



องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การให้บริการอินเตอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา สามารถสรุปที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุกดังต่อไปนี้

1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator



2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คืออีเมลแอดเดรส (E-mail address)



องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย

1. ชื่อผู้ใช้ (User name)

2. ชื่อโดเมน

Username@domain_name

การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น

2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail



3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com

2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander



4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น



5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com

2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com

        

3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com






6. บริการกระดานข่าวหรือ เว็บบอร์ด (Web board)เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)


7. ห้องสนทนา (Chat Room)ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนา


http://classroom.hu.ac.th/courseware/Network/chapter1.html


www.sanook.com www.pantip.com


http://202.143.137.109/araya/int.html


การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็วในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย


การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ


ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)


หรือที่เรียกกันว่า ไอเอสพี จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้ ดังนั้น ISP ก็เปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถเข้าไปยัง ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภทตามความต้องการ


ใช้งานดังนี้


1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย


2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถ่ขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account





TCP/IP : ภาษาหลักในอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol) สำหรับโปรโตคอลเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมๆ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

หลักการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นเป็นส่วนย่อยๆ ( เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet ) และส่งไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ตเหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง

รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นสในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่ได้ โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่ เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน



SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์

ในการส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ 6 สาย ในระบบLAN และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงต้องมีโปรโตคอล เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งได้แก่ โปรโตคอล SLIP (Serial Line Internet Protocol) และ PPP (Point-to-Point Protocol) ซึ่งทำงานบน TCP/IP อีกทีหนึ่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น